วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563

สรุปข่าวตลาดหุ้น หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 19 เม.ย. 2563

สรุปข่าวตลาดหุ้น หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 19 เม.ย. 2563
แบงก์ชาติโดดอุ้มเอง งัด พ.ร.ก.ซื้อตราสารหนี้
จากที่ก่อนหน้านี้ ที่มีการพูดกันอย่างกังวลว่า นักลงทุนต่างชาติได้เดินหน้าขายทิ้งหุ้นไทยมาตั้งแต่ต้นปี และยังขยันหันมาขายตราสารหนี้ในตลาดรองซื้อขายตราสารหนี้ออกไปไม่น้อยกว่ากว่าระดับแสนล้านในเวลาไม่นาน ขณะที่สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของไทยอยู่ในภาวะที่น่าหวั่นใจ ว่าจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ติดลบ ด้วยพิษของไวรัสโควิด-19 ขนาดที่ผู้บริหารตลาดตราสารหนี้ไทย Thai-BMA ยังออกมากล่าวด้วยความห่วงใยว่า จะมีผลให้ตราสารหนี้ที่ใกล้ถึงวันครบกำหนดจะผิดนัดชำระเงินให้กับนักลงทุนที่ถือตราสารหนี้ไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท และเพียงไม่นานจากนั้นก็เกิดมีภาวะความสั่นคลอนขึ้นในวงการกองทุนรวม เมื่อนักลงทุนแห่กันไปไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนตราสารหนี้กันจำนวนมาก จนหมิ่นเหม่เกิดปัญหาสภาพคล่อง ถึงขนาดแบงก์ชาติ ก.ล.ต. สมาคม บลจ. และสมาคมธนาคารไทย ต้องประชุมกันด่วนในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2563 และมีมติออกมาตรการช่วยเหลือเป็นการด่วน
หุ้นไทย Bottom Out โควิด-ขวิด ศก."U shape"
"ความเจ็บปวดที่สุดกำลังจะมาถึงในไตรมาส 2 เหมือนกับคำที่ว่า The Market Bottoms before the Economy Bottoms" ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ แสดงความเห็นหลังจากที่ตลาดหุ้นได้ปรับลงไปต่ำสุดรอบนี้ที่ 940 จุด และสวิงกลับมาจนขึ้นมาทดสอบแนวต้านสำคัญที่ 1,220 จุด เมื่อวันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เป็นการรับข่าวมติครม.อนุมัติเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1.9 ล้านล้านบาท
"SSFX" มาแล้ว
หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงอย่างแรง โดยเฉพาะช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ตลาดปรับลดลงจนหลุด 1,000 จุด และถึงขั้นต้องหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว เซอร์กิตเบรกเกอร์ ถึง 3 ครั้งติดๆ กันซึ่งประเมินว่าสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโรคระบาดโควิด โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติมาก นำมาสู่แนวคิดการจัดตั้งกองทุนเพื่อพยุงหุ้น ขณะที่ตลาดขาดตัวช่วย เข้ามาซื้ออย่าง กองทุน LTF ที่ยุติบทบาทไป
ทิพยประกันชีวิต ร่วมกับทิพย์ประกันภัย
มอบกรมธรรม์คุ้มครองไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้พนักงานและลูกจ้าง ธนาคารออมสิน
บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดยนายนพพร บุญลาโภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดย ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ มอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบกลุ่ม ให้แก่ ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เนื่องจากตระหนักถึงความปลอดภัย และคำนึงถึงสุขอนามัย รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานและลูกจ้างของธนาคารออมสินทั่วประเทศ ที่อาจจะมีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในภาวะที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถนนพระราม 3
สรุปข่าวตลาดเงิน หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 19 เม.ย. 2563
แบงก์รัฐจัดหนัก! สู้โควิดพักหนี้อัตโนมัติ 3 เดือน
ออมสิน เริ่ม ธ.ก.ส.-SME D Bank ตาม พักหนี้เงินต้น/ดอกเบี้ยอัตโนมัตินาน 3 เดือน ให้ลูกค้ามีช่องหายใจช่วงโควิด-19 อาละวาดหนัก ใครไม่อยากเข้าโครงการให้ชำระหนี้ตามปกติ พร้อมออกสินเชื่อฉุกเฉินให้กู้ไปใช้จ่าย-เสริมสภาพคล่อง คิดดอกเบี้ยน้อยนิด ด้านเอ็กซิมแบงก์ติดต่อลูกค้าโดยตรง พักหนี้ 6 เดือน ส่วนกรุงไทยพัก 3 เดือน แต่ให้ลูกค้าแจ้ง
COVID-19 ทำลาย ศก.ย่อยยับ กรณีเลวร้ายไทยโตติดลบ 7.2%
ศูนย์วิจัยแบงก์พาณิชย์ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยหลังโลกเผชิญพิษโควิด-19 รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากเป็นบวกอยู่ดีๆ ให้โตติดลบมโหฬาร 6.4-6.8% กรณีเลวร้ายอาจมากถึงลบ 7.2% เกือบเท่าช่วงวิกฤตการเงินของไทยและของโลก
"เสี่ยปั้น" อำลา KBANK ถึงยุคสตรีกุมบังเหียน
"บัณฑูร ล่ำซำ" ลาออกจากประธานบอร์ดแบงก์กสิกรไทย ให้ "กอบกาญจน์" เป็นประธานกรรมการแทน ขณะที่บอร์ดตั้ง "ขัตติยา อินทรวิชัย" เป็นซีอีโอ นับเป็นประธานและผู้บริหารสูงสุดครั้งแรกในประวัติแบงก์ที่มีผู้หญิงนำทัพ และเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้นามสกุล "ล่ำซำ" ด้าน 2 หญิงเหล็กเปิดตัวนำพาแบงก์ฝ่าความท้าทายใหม่ๆ ขณะที่ช่วยลูกหนี้สู้โควิด-19 ไปแล้ว 1.15 แสนราย ยอดสินเชื่อ 1.24 แสนล้านบาท
"ไทยเครดิต" เผยค้ารายย่อยอ่วมหนัก แจกประกันโควิด-19 ฟรี 1.7 แสนราย
แบงก์ไทยเครดิต เผยผลสำรวจลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยสาหัสโควิด-19 พบ 93% ได้รับผลกระทบ รายได้ต่อวันหายไปกว่าครึ่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑลหนักสุด ธุรกิจที่ไม่ใช่อาหารเดี้ยง ทั้งวัตถุดิบราคาสูงขึ้น ยื่นขอเสนอขอพักหนี้ กู้ดอกเบี้ยต่ำ พร้อมเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ขณะที่แบงก์เห็นความเดือดร้อนลูกค้า แจกประกันฟรี 1.7 แสนรายทั่วประเทศ ชดเชย 1 แสนบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น