วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สรุปข่าวโลกธุรกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 07 ต.ค. 2562

สรุปข่าวโลกธุรกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า
ตั้งทีมคุมไซเบอร์ ดัน'ปณิธาน'นั่งกก./ชงครม.ไฟเขียว
แหล่งข่าวจากวงในโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ(กมช.) หรือ National Cyber Security Committee NCSC ให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณา
นักวิชาการชี้ช่องกระตุ้นศก.
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูล ตัวเลขและการคาดการณ์จากสำนักวิจัยชั้นนำของโลกหลายแห่งโดยสรุป พบว่า ผลกระทบสงครามทางการค้าจีนกับสหรัฐฯ ประกอบกับความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับอียูจะมีแรงกดดันต่อภาคส่งออกและภาคการผลิตของไทยเพิ่มเติม
สอน.อุ้มชาวไร่อ้อย ต่อยอดผลิตสินค้าชีวภาพ
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ณ สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ว่า ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้รับทราบและเข้าใจปัญหาของชาวไร่อ้อยเป็นอย่างดี จึงได้ดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต จำนวน 50 บาทต่อตันอ้อย รายละไม่เกิน 5,000 ตัน ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 ในวงเงินงบประมาณ 6,500 ล้านบาท
ปตท.ผนึกสถาบันวิทยสิริเมธี เล็งผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. โดย สถาบันวิทยสิริเมธี ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กำลังศึกษาระบบกักเก็บพลังงาน คาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนภายใน 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตตามนโยบายรัฐ โดยเฉพาะรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากเห็นถึงโอกาสในการเป็นผู้นำพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่ยังมีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้นในระยะข้างหน้า แต่ปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตพัฒนามากนัก
'ชาญศิลป์'รับลูก นโยบายรัฐบาล ลดต้นทุนเกษตร
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้ ปตท.ศึกษาแนวทางการผลิตปุ๋ยสั่งตัดเพื่อช่วยเหลือต้นทุนให้กับเกษตรกรนั้น ถือเป็นเรื่องใหม่ยังอยู่ระหว่างการศึกษา เพราะต้องยอมรับว่าภาคเกษตรกรรมของไทยเป็นภาคที่กว้างใหญ่มาก มีหลายรูปแบบ หลากหลายพื้นที่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้ง ดิน น้ำ ภูมิอากาศ ชนิดพืชที่ปลูกในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน จะดำเนินการอย่างไรต้องดูรูปแบบให้รอบคอบ ที่สำคัญคือผลิตแล้ววางจำหน่ายที่ปั๊มปตท.แล้วจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น