วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรุปข่าวหุ้น-ตลาดทุน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 08 พ.ค. 2561

สรุปข่าวหุ้น-ตลาดทุน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 08 พ.ค. 2561

GPSCกำไร5.7พันล้านPLUS ศึกษาลงทุนเพิ่มรองรับอีอีซี PTTGCน้ำมันดันรายได้1.2แสนล้าน
   2 บริษัทเครือ ปตท. เดินหน้าโชว์กำไร GPSC ไตรมาสแรกโกย 922 ล้าน เพิ่ม 22.98% ด้าน PTTGC กำไร 1.2 หมื่นล้าน ลดลง 6%
   นายเติมชัย บุนนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า บริษัทมีกำไรสุทธิไตรมาสแรกจำนวน 922.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.98% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 749.86 ล้านบาท

'สคก.'นัดถกปัญหาIFEC วันที่8พ.ค.นี้
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าคาดปัญหา IFEC  รู้ผลคืบหน้าวันที่ 8 พ.ค.นี้ สคก.นัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือ
   นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (IFEC) ว่า เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับจำนวนกรรมการทั้งหมด ประธานกรรมการ องค์ประชุมคณะกรรมการ และกรรมการที่เหลืออยู่กรณีไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงจาก IFEC และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

จังหวะลงทุนหุ้นเข้าSET50แจก5%
   โพยหุ้นเข้า SET50 เข้าลงทุนก่อนประกาศจากสถิติให้ ผลตอบแทนประมาณ 5%
   นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยได้ทำการคำนวณหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะถูกนำเข้า/ตัดออกจากดัชนี SET50/SET100 ประจำรอบครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นถึงวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 1.หุ้นที่มีแนวโน้มถูกนำเข้าสู่ดัชนี SET50 ในรอบถัดไป ได้แก่ KTC, RATCH, BGRIM, ESSO 2.หุ้นที่มีแนวโน้มถูกตัดออกจากดัชนี SET50 ในรอบถัดไป ได้แก่ WHA, BCP, PSH, KCE 3.หุ้นที่มีแนวโน้มถูกนำเข้าสู่ดัชนี SET100 ในรอบถัดไป ได้แก่ RATCH, BGRIM, VGI, RS, SPCG, PLANB, ERW, THANI, PTL และ 4.หุ้นที่มีแนวโน้มถูกตัดออกจากดัชนี SET100 ในรอบถัดไป ได้แก่ BA, UNIQ, MONO, ANAN, THCOM, BIG, MC, JMART, JWD

เลื่อนIFRS9หนุนแบงก์
   จ่อถอยใช้มาตรฐานบัญชีฉบับ 9 หวั่นกระทบเศรษฐกิจภาพรวม ด้าน ASP มองแบงก์ขนาดเล็ก แบงก์รัฐลำบาก
   น.ส.อุษณีย์ ลิ่วรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่วม (กกร.) เสนอให้เลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานบัญชี IFRS9 ว่า น่าจะเป็นแค่จิตวิทยาเชิงบวกต่อกลุ่มแบงก์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ให้มีเวลาเตรียมการไปอีก 1 ปี ซึ่งความเป็นไปได้ขณะนี้คือให้เลื่อนไปเป็นต้นปี 2563 ไม่น่าจะถึงต้นปี 2565

10หุ้นรับเหมากำไรพุ่ง ไตรมาสแรกทำได้กว่า6,000ล้านบาท พี/อีกลุ่มวูบเหลือ21.9เท่า
   ASP คาดไตรมาสแรกหุ้นรับเหมาก่อสร้างมีกำไร 6,149 ล้าน เพิ่มขึ้น 619% ด้าน ITD คว้างานเพิ่ม
   บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASP) ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า 10 บริษัทในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ได้ทำการวิเคราะห์จะมีกำไรสุทธิงวดไตรมาสแรก ปี 2561 จำนวน 6,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 619% จากปี 2560 ตามยอดรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้น 10% จากงานในมือที่มีรวมกันสูงกว่า 4.5 แสนล้านบาท ประกอบกับหลายบริษัทมีผลขาดทุนหนักในปี 2560 เช่น ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เอสทีพีไอ (STPI) บริษัท บีเจซี เฮฟวี่ อินดัสทรี (BJCHI) กลับมามีผลประกอบการกำไรที่ดีขึ้นในปีนี้ เช่น STEC มีงานในมือสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท จะพลิกจากขาดทุน 611 ล้านบาท ในปี 2560 พลิกมามีกำไร 1,318 ล้านบาท รวมถึงหุ้นในกลุ่มเสาเข็ม เช่น ซีฟโก้ (SEAFCO) และไพลอน (PYLON) ซึ่งเป็นผู้ได้ประโยชน์อันดับแรกจากการลงทุนภาครัฐจะทำกำไรได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์

QTCคาดก.ค.รู้ผลโรงไฟฟ้าร่วมทุนกับลาว
   QTC ยันแผนศึกษาลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลาวได้ข้อสรุปเดือน ก.ค.นี้ "พูลพิพัฒน์" หวังเข้าถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 20%
   นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) เปิดเผยว่า ได้เข้าไปศึกษาการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 164 เมกะวัตต์ ร่วมกับ บริษัท เจริญ เซกอง กรุ๊ป (CSG) ใน สปป.ลาว คาดว่าจะได้ข้อสรุปเดือน ก.ค.นี้ โดย QTC คาดหวังจะเข้าลงทุนในโครงการดังกล่าว 20%

TUทุ่ม500ล้านซื้อทูน่ารัสเซีย
   TU ตั้งเป้าหมายจะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในทียูเอ็มดี ลักเซมเบิร์ก รัสเซีย หวังอีก 3 ปี เพิ่มเป็น 80% หลังทุ่ม 507 ล้าน เข้าซื้อ 45%
   นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) เปิดเผยว่า บริษัทตกลงเข้าซื้อหุ้น 45% ของ ทียูเอ็มดี ลักเซมเบิร์ก ด้วยเงิน 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 507 ล้านบาท ซึ่งทียูเอ็มดี ลักเซมเบิร์ก เป็นเจ้าของบริษัทในรัสเซีย 3 แห่ง คือ ดาลพรอมรีบา ลิมิเต็ด ไลอะบิลิตี้ คอมพานี ทอโกโว-พรอ มิเชนนี คอมเพล็กซ์ "ดาลพรอมรีบา" ลิมิเต็ด ไลอะบิลิตี้ คอมพานี และมากูโร ลิมิเต็ด ไลอะบิลิตี้ คอมพานี โดยทั้ง 3 บริษัทนี้รวมเรียกว่า ดีพีอาร์ กรุ๊ป ดีพีอาร์ ดำเนินธุรกิจปลาและอาหารทะเลที่เน้นค้าปลีก และเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย  ซึ่งการที่ไทย ยูเนี่ยนเลือกลงทุนในดีพีอาร์ เพราะแพลตฟอร์มการผลิตและจัดจำหน่ายของบริษัทนี้ สามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาและเติบโตทางธุรกิจได้อย่างมาก เพราะดีพีอาร์มียอดขายราว 45 ล้านดอลลาร์หรือ 1,426 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจทั้ง ในเซ็กเมนต์ของอาหารแปรรูปและ แช่แข็ง และเป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง มากูโร แคปตัน ออฟ เทสส์ และไรบาร์

ผ่อนเกณฑ์กองบุคคล เป็นคัสโตเดียนรับฝากทรัพย์สินที่ตนเองบริหาร ผลดีต่อนักลงทุน
   ก.ล.ต.เปิดแนวคิดให้ผู้ประกอบธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลรับฝากทรัพย์สินของกองทุนที่ตนเองบริหารได้
   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านกองทุนส่วนบุคคล เพื่อเปิดทางให้ ผู้ประกอบธุรกิจที่มีระบบดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ให้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนที่ตนเองบริหารได้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการมากขึ้น และไม่เป็นภาระเกินความจำเป็น โดยผู้ลงทุนยังได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สินที่เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น